วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบการนำเสนอผลงาน

 

              ในหัวข้อนี้ จะกล่าวถึงรูปแบบการนำเสนอผลงานโดยใช้คอมพิวเตอร์  รูปแบบที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมี  2  รูปแบบ   คือ

 

1 การนำเสนอแบบ Slide Presentation

      1.1  โดยใช้โปรแกรม Power Point

              เป็นโปรแกรมนำเสนอผลผลงานในชุด  Microsoft  Office   เป็นโปรแกรมที่ใช้ง่ายมาก     มีแม่แบบ  (Template)  ให้เลือกใช้หลายแบบ  องค์ประกอบหลักของแต่ละหน้าของการนำเสนอคือ  หัวข้อ  (Little)  กับส่วนเนื้อหาหลัก  (Body text)  เนื้อหาหลักมักจะถูกนำเสนอในแบบของ Bull Point คือ  การใช้เครื่องหมายพิเศษนำหน้าข้อความที่สั้นกระทัดรัด   แต่ได้ใจความมีการจัดลำดับความสำคัญของข้อความโดยการย่อหน้า

 

clip_image002

ภาพแสดง  โปรแกรมนำเสนอผลงาน  (power Point)

จัดลำดับความสำคัญของข้อความ โดยการย่อหน้า

 

          นอกจากข้อความแล้วอาจใช้  ตาราง  แผนภูมิ  หรือรูปภาพประกอบ  และอาจมีการแต่งแต้มสีสัน  ทั้งสีพื้น  สีของตัวอักษร  และรูปแบบฟอร์มของตัวอักษรได้ด้วย

 

clip_image004

ภาพแสดง  การนำเสนอในรูปแบบ Presentation (PowerPoint)

 

             การนำเสนอในรูปแบบ  Presentation  โดยใช้โปรแกรม  PowerPoint  นี้  สามารถทำให้มีลักษณะของการเชื่อมโยงคล้าย  ไฮเปอร์เทกซ์  (Hypertext)  ของ  Web page   ได้ ทั้งนี้ โดยใช้การเชื่อมโยงหลายมิติที่มีอยู่ในชุดโปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศ

 

clip_image005

ภาพแสดง  การออกแบบสไลด์ให้มีการเชื่อมโยงหลายมิติ เมื่อคลิกที่คำว่า ฮาร์ดแวร์ของสไลด์ที่ 1

ภาพที่จะนำเสนอจะกระโดดไปที่สไลด์ที่ 11

 

1.2  โดยใช้โปรแกรม  ProShow Gold

            โปรแกรม  Proshow  Gold คือ  โปรแกรมสำหรับเรียงลำดับภาพ  เพื่อนำเสนอแบบ  มัลติมีเดีย  ที่มีความสามารถสร้างผลงานได้ในระดับมืออาชีพ  ด้วยเทคนิคพิเศษมากมาย  ใช้งานง่าย เหมาะสมต่อการนำเสนอสื่อ  การเรียนการสอน  การแนะนำอัตชีวประวัติ  สามารถเขียนชิ้นงานออกมาในรูปแบบของวีซีดีได้อย่างรวดเร็ว  เป็นโปรแกรมที่ช่วยสร้างแผ่นวีซีดี  จากรูปภาพต่าง ๆ ที่ทำงานได้รวดเร็ว โดยสามารถทำการใส่เสียงเพลงประกอบได้ด้วย  และสามารถแปลงไฟล์เป็นไฟล์ต่าง ๆ  ได้  เช่น  VCD , DVD  หรือ  EXE  ฯลฯ  ภาพที่ได้จัดอยู่ในคุณภาพดี  ซึ่งโปรแกรมอื่นจะใช้เวลาในการทำงานนานพอสมควร

 

การเตรียมข้อมูลของภาพและเพลงต่าง ๆ ก่อนที่จะเริ่มติดตั้งและใช้งาน

 

1. ProShow Gold

           เป็นซอฟต์แวร์สําหรับสร้างแผ่น  VCD  จากรูปภาพต่าง ๆ  ที่ทํางานได้รวดเร็ว  หลายคนคงจะมีไฟล์รูปภาพต่าง ๆ  เก็บสะสมไว้และเมื่อต้องการที่จะนําเอาภาพเหล่านั้นมา แปลงให้อยู่ในรูปแบบของแผ่น VCD ที่สามารถนําเอาไปใช้เป็นกับเครื่องเล่น VCD ทั่วไปได้  ProShow  Gold  เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถนําเอาภาพมาทําเป็นแผ่น VCD โดยที่สามารถทําการแปลงได้อย่างรวดเร็วและยังใส่เสียงเพลงประกอบได้ด้วย

 

              โดยทั่วไปแล้ว  ซอฟต์แวร์สําหรับการทําแผ่น  VCD  จากรูปภาพจะมีหลายตัว     แต่ที่แนะนํา ProShow เนื่องจากเหตุผลหลักคือการใช้เวลาทําการแปลงที่รวดเร็วมาก ปกติถ้าเป็นซอฟต์แวร์ตัวอื่นจะใน เวลาหลายชั่วโมง  แต่ตัว  ProShow  นี้ใช้เวลาแปลง  ไม่ถึงชั่วโมงก็เสร็จแล้วภาพที่ได้ก็จัดอยู่ใน  คุณภาพดี  โดยข้อเสียที่พบ  ในตัวโปรแกรมนี้  คือ  ค่อนข้างจะมีความยุ่งยาก   ในขั้นตอนของการใช้งานบ้างแต่ก็ไม่มากมาย

 

clip_image007

 

               1.1 การเตรียมข้อมูลของภาพและเพลงต่างๆ  ก่อนที่จะเริ่มและใช้งานจะต้องมี  คือ ไฟล์รูปภาพต่าง ๆ  ซึ่งอาจจะเป็นไฟล์  .jpg  ก็ได้และไฟล์ของเพลงที่จะนํามา  ใส่ประกอบ  ซึ่งจะใช้เพลงแบบ  MP 3  ทั่วไปก็ได้  เมื่อเตรียมไฟล์ต่าง ๆ พร้อมแล้ว  ก็เริ่มต้นขั้นตอนการสร้างงาน

 

การใช้งาน โปรแกรม ProShow Gold มีขั้นตอนดังนี้

 

            1.  เริ่มที่  Main Menu  เป็นตัวเมนูหลักสําหรับควบคุมและทํางานของโปรแกรม

 

            2.  การเข้าสู่โปรแกรมเราสามารถ   คลิกที่   Icon  บน   Desktop     เพื่อเข้าใช้งานโปรแกรมได้

 

            3.  หน้าจอจะแสดงการเข้าสู่โปรแกรม

 

             4.  เมื่อเข้าสู่โปรแกรมครั้งแรกโปรแกรมจะให้ใส่  Activate  Registration  จากนั้นเราก็กดที่ปุ่ม  Activate  Registration

 

                                    clip_image009

 

 

 

การแทรกภาพในชิ้นงาน ProShow Gold มีขั้นตอนดังนี้

 

            1.  สามารถเลือกที่อยู่ของไฟล์ต่างๆที่จะนำมาใช้ในชิ้นงานของได้โดยไปที่  Folders  List ด้านซ้ายมือเพื่อเลือกตำแหน่งที่อยู่ของไฟล์งาน

 

            2. เมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการแล้วให้เลือกข้อมูลที่ต้องการ  โดยลากไฟล์งานเข้ามาไว้ในสไลด์บนหน้าจอ

 

                             clip_image011

 

ภาพแสดง  ไฟล์งานที่เข้ามาไว้ไลด์บนหน้าจอ

 

            3. เมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการแล้ว  การใส่ข้อความในสไลด์  ซึ่งจะได้ข้อความตามที่ต้องการ ในครั้งนี้สามารถ ใส่เสียง, ใส่ Effects ในรูปแบบที่ต้องการ

 

clip_image013

ภาพแสดง Effects ต่างๆ ของโปรแกรม ProShow Gold

 

             สุดท้าย  ในการเปลี่ยนเวลาในสไลด์  แต่ละช่วงเวลาที่ต้องการ  สามารถแก้ไขได้  รวมถึงการเขียนชิ้นงานลงแผ่นซีดี  ได้เลย  ซึ่งสามารถนำเสนอในรูปแบบของ  vcd  ได้สมบูรณ์ในการทำงาน

clip_image002

ภาพแสดงการเขียนชิ้นงานลงแผ่น CD

 

1.3   โปรแกรม Flip Album

           โปรแกรม Flip Album 6 Pro เป็นโปรแกรมลักษณะของโปรแกรมสำเร็จรูป โดยโปรแกรมชุด  FilpAlbum  เป็นโปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง  e-Book  ซึ่ง  อีบุ๊ค ”  (eBook, EBook, e-Book) เป็นคำภาษาต่างประเทศ  ย่อมาจากคำว่า  electronic book  หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจัดทำขึ้นด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ หรือ หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และ สามารถอ่านได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์  ทั้งในระบบออฟไลน์   และออนไลน์เหมือนเปิดอ่านจากหนังสือโดยตรงที่เป็นกระดาษ แต่ไม่มีการเข้าเล่ม เหมือนหนังสือที่เป็นกระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  มีความสามารถมากมายคือ  มีการเชื่อมโยง (Link) กับ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มอื่นๆ ได้ เพราะอยู่บนเครือข่าย www และมีบราวเซอร์ที่ทำหน้าที่ดึงข้อมูลมาแสดงให้ตามที่ต้องการเหมือนการเล่นอินเทอร์เน็ตทั่วไป เพียงแต่เป็นระบบหนังสือ บนเครือข่ายเท่านั้น  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงข้อความ  รูปภาพ  เสียง  ภาพเคลื่อนไหว และ  แบบทดสอบ  และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้  อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป   เราสามารถอ่านหนังสือ  ค้นหาข้อมูล  และสอบถามข้อมูลต่างๆ  ทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก  ได้จากอินเทอร์เน็ต จากคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นแฟ้มข้อมูล  ประเภทข้อความ (Text File)  ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักของภาษา  HTML   (Hyper  Text  Markup  Language)   ที่ใช้เขียนโปรแกรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 

ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันมี 2 ประเภท  คือ

 

           ซอฟต์แวร์สำหรับการเขียนข้อมูลให้ออกมาเป็น  E - Book และ  ซอฟต์แวร์สำหรับการอ่านมีอยู่หลายโปรแกรม  แต่ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน  ได้แก่

 

              1.   โปรแกรมชุด  FilpAlbum

              2.  โปรแกรม  DeskTop  Author

              3.  โปรแกรม  Flip  Flash  Album

 

              ชุดโปรแกรมทั้ง  3  จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน  e-Book  ด้วย  มิฉะนั้นแล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้  ประกอบด้วย

 

              1.1   โปรแกรมชุด   FlipAlbum   ตัวอ่านคือ   FilpViewer

             1.2   โปรแกรมชุด  DeskTop   Author  ตัวอ่านคือ  DNL Reader

            1.3   โปรแกรมชุด  Flip  Flash  Album  ตัวอ่านคือ  Flash  Player

 

clip_image017

ภาพแสดง  FlipAlbum

 

ลักษณะไฟล์ของ Electronic Book

              HTML เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุด  งานประเภทนี้จะมีนามสกุลของไฟล์หลายๆ  แบบเช่น  .htm  หรือ  .html  เป็นต้น   สาเหตุหลักที่ได้รับความนิยมสูงสุดนั้น     มาจาก บราวเซอร์สำหรับเข้าชมเว็บต่าง ๆ  เช่น  Internet Explorer  หรือ  Netscape  Communication ที่ใช้กันทั่วโลกสามารถอ่านไฟล์  HTML  ได้  สำหรับไฟล์ XML  ก็มีลักษณะเดียวกับไฟล์  HTML  นั่นเอง

 

           PDF Portable  หรือ  Document  Format  ถูกพัฒนาโดย  Adobe  System  Inc   เพื่อจัดการเอกสารให้อยู่ใน  รูปแบบที่เหมือนเอกสารพร้อมพิมพ์  ไฟล์ประเภทนี้สามารถอ่านได้โดยระบบปฏิบัติการจํานวนมากและรวมถึง  อุปกรณ์ E-Book  Reader  ของ  Adobe  ด้วย

 

           PML  พัฒนาโดย  Peanut  Press  เพื่อใช้สําหรับสร้าง  E-Books  โดยเฉพาะอุปกรณ์พกพาต่างๆ ที่สนับสนุนไฟล์ประเภท PML นี้จะสนับสนุนไฟล์นามสกุล .PDF ด้วย 

(หมายเหตุ ข้อมูลจาก  www.j-joy.co.th)

 

           วิธีการที่ใช้กับการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ด้วยโปรแกรมในตระกูล  Flip Album

 

            1.  เตรียมความพร้อมเพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

 

            2.  ทำความรู้จักกับโปรแกรม Flip Album 6 Pro ผู้ใช้งานจะต้องติดตั้งตัวโปรแกรม (install) ลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้งานอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะส่วนบุคคล (Personal Computer) หรือเครื่องพกพาแบบโน๊ตบุ๊ค (Note Book) ก็ได้ ขณะปฏิบัติการงานสร้างนั้น คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อระบบเครือข่ายก็ได้

 

            3.  การติดตั้งโปรแกรม Flip Album 6 Pro   

 

             4.  การเข้าสู่โปรแกรม Flip Album 6 Pro การเข้าสู่โปรแกรมมีวิธีการหลัก  2  วิธี   คือ

                    1.)  เข้าโดย  Dubble  Click  ที่รูปภาพหนังสือสีแดง  บนหน้า  Desktop

                  2.) เข้าโดย Click ที่ปุ่ม Start / Program / E-Book Sytems / FlipAlbum 6 Pro / FlipAlbum Proclip_image019

 

                             clip_image021

ภาพแสดง  ตัวอย่างคำสั่งการเพิ่มหน้าหนังสือจำนวนหลายๆ หน้า แบบอัตโนมัติ

 

            5.  การสร้างสรรค์งานโปรแกรม  Flip  Album 6 Pro ซึ่งสามารถมีการเพิ่มหน้าหนังสือแบบอัตโนมัติ

 

             6. การนำเข้าข้อมูลจากภาพกราฟิค  (Digital Pictures)  การนำเข้าข้อความมาจัดพิมพ์ใส่ในหนังสือ  รวมถึงการนำเข้าข้อความจาก  Microsoft Word  และ  Power Point  มาสร้าง e-book

 

clip_image023

ภาพแสดงการนำข้อความจาก PowerPoint มาสร้าง e-Book

 

             7.  การนำไฟล์  PDF  มาสร้าง  e-book  การตกแต่งหนังสือ  (Set  Book  Option)  การแทรกภาพนิ่ง  (Insert  Clip  Art)   การจัดทำไฟล์วีดิทัศน์  (Video)

clip_image025

ภาพแสดงการตกแต่งหนังสือ โดยใช้เมนู Set Book Option

 

3.2. รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) Computer Assisted Instruction

 

           CAI คือ  โปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ที่มีหน้าที่เป็นสื่อการเรียนการสอนเหมือนแผ่นใส  (Transparent)  สไลด์  (Slide)  หรือวีดีทัศน์  (Video)   ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน  เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายในเวลาอันจำกัด  และตรงตามวัตถุประสงค์ของบทเรียนนั้น ๆ แต่เนื่องจากโปรแกรมเรียนคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่ได้ครบทุกสื่อในเวลาเดียวและควบคุมการนำเสนอได้ด้วยตัวเอง  เรียกว่า “ สื่ออเนกทัศน์”  หรือ  “ มัลติมีเดีย”  (Multimedia)  ทำให้ประหยัดและมีประสิทธิภาพสรุปได้ว่า  CAI  คือ

            -  เป็นสื่อการเรียนการสอน  ช่วยผู้สอนทำการสอน

 

          -  เนื้อหาในโปรแกรมจะเป็นหน่วย ๆ  ตามบทเรียนนั้น ๆ

 

          -  ผู้เรียนสามารถนำไปทบทวนเนื้อหา  ศึกษาด้วยตนเอง

 

           -  ผู้สอนผู้สอน  หรือผู้มีประสบการณ์ในเนื้อหาวิชานั้น ๆ  จะทำได้ดีที่สุด

 

การจัดทำ CAI ที่ดีนั้น  ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ  คือ

 

           1.  นักวิชาการ  (Academic  Expert)

 

          2.  นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์  (Programmer)

 

          3.  นักสร้างสรรค์  (Producer)

 

          4.  นักศิลปะ  (Artist)

 

           ฉะนั้น  CAI ก็คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยผู้สอนสอน  แต่ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถทำหน้าที่แทนผู้สอนได้ทั้งหมด  โดยที่ผู้สอนไม่ต้องทำอะไรเลย  ผู้สอนยังจำเป็นที่ต้องคอยแนะนำและเตรียมเนื้อหา  เพี่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในเนื้อหานั้น ๆ ในเวลาจำกัด  จึงกล่าวได้ว่า  “ ผู้สอนผู้สอนจะเป็นผู้ที่ทำ  CA I ได้ดีที่สุด ”

 

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน Computer Assisted Instruction หมายถึง

          การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนที่อาศัยคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระดับสูงมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อหรือเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้โดยจัดเนื้อหาสาระหรือประสบการณ์สำหรับให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ อาจจัดเป็นลักษณะบทเรียนหน่วยการเรียนหรือโปรแกรมการเรียน ฯลฯ

 

ประโยชน์ของการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนรู้

 

1. ใช้เพื่อจัดการในชั้นเรียน (Classroom Management) เช่น

- เก็บข้อมูลสถิติรวมทั้งระเบียนสะสมของผู้เรียนเพื่อให้การช่วยเหลือเด็กเป็นรายบุคคล

- ใช้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง

- เตรียมงานด้านการสอน เช่น ใบความรู้ ใบงาน ข้อทดสอบ ฯลฯ

- สร้างเครือข่ายฐานข้อมูลผู้เรียน เช่น แฟ้มสะสมงานผู้เรียน (Electronic portfolio)ฯลฯ

 

2. ใช้ในการจัดการเรียนการสอน (Instruction) เช่น

         การนำเสนอผลงาน (Presentation)ของผู้สอน

            -  ในลักษณะสื่อประสม  (Multimedia)  เพื่อให้เกิดความตื่นเต้นเร้าความสนใจ  เช่น  เสียงเพลง  ภาพเคลื่อนไหวในวีดีโอ  กราฟสถิติ  รูปภาพ/ภาพถ่าย  ฯลฯ

 

           -  ในลักษณะการจำลองสถานการณ์หรือการจำลองแบบ (Simulation) ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่าย เช่น  ผลกระทบในการลดลงของความหลากหลายทาง  ชีวภาพ การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก  การระเบิดของภูเขาไฟ  แนวโน้มการศึกษาต่อของผู้เรียน  ฯลฯ

 

    การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ไปใช้เป็นเครื่องมือช่วยสอน (Computer Assisted Instruction: CAI)

            โดยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อหรือช่องทางในการนำเสนอเนื้อหาซึ่งอาจเป็นกิจกรรมในรูปแบบต่างๆโดยมุ่งให้ผู้เรียนได้ศึกษาเนื้อหาด้วยตัวเอง ตามความพร้อมและความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก การพิจารณาว่าสื่อการสอนที่สร้างมาจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือไม่นั้นมีการพิจารณา  ดังนี้

 

           1.  ต้องมีเนื้อหาสาระ  มีการเรียบเรียงเป็นอย่างดี

 

           2.  ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล 

 

          3.  สามารถตอบโต้หรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้เรียน

 

          4.  สามารถให้ป้อนกลับได้ทันที

 

           ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้มีอยู่มากมายหลายรูปแบบ  เช่น โปรแกรมการนำเสนอเนื้อหาใหม่ โปรแกรมฝึกหัด โปรแกรมจำลองสถานการณ์ เกม และโปรแกรมการฝึกทักษะการแก่ปัญหา  เกม  การสาธิต  การทดสอบ  เป็นต้น

 

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) สามารถสรุปได้เป็นแผนภูมิได้ดังนี้

clip_image026

ภาพแสดงขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

 

 

การสร้างและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

 

           แฮนนิฟิลและเพค  (Hannafin and Peck)  อ้างถึงใน  บุญเกื้อ  ควรหาเวช  (2543 : 71 - 74) ได้ให้ข้อคำนึงในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและลักษณะของการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดีไว้  12  ประการ  ดังนี้

 

            1. สร้างขึ้นตามจุดประสงของการสอนเพื่อที่จะให้ผู้เรียนได้เรียนได้จากบทเรียนนั้น  ได้มีความรู้และทักษะตลอดจนทัศนคติของผู้สอนได้ตั้งไว้ให้ผู้เรียนสามารถประเมินผลด้วยตนเองว่าบรรลุจุดประสงค์ในแต่ละข้อหรือไม่

 

            2. บทเรียนที่ดีควรเหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน  การสร้างบทเรียนจะต้องคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถพื้นฐานอยู่ในระดับใด ไม่ควรที่จะยากหรือง่ายจนเกินไป

 

            3. บทเรียนที่ดีควรปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนให้มากที่สุดการเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนควรมีประสิทธิภาพมากกว่าเรียนจากหนังสือเพราะสามารถสื่อสารกับผู้เรียนได้  2  ทาง

 

            4. บทเรียนที่ดีควรจะมีลักษณะเป็นการสอนรายบุคคล ผู้เรียนสามารถที่จะเลือกเรียนหัวข้อที่ตนเองมีความสนใจและต้องการที่จะเรียนและสามารถที่จะข้ามบทเรียนที่ตนเองเข้าใจแล้วได้ แต่ถ้าบทเรียนที่ตนเองยังไม่เข้าใจก็สามารถเรียนซ้อมเสริมจากข้อแนะนำของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้

 

           5. บทเรียนที่ดีควรคำนึงถึงความสนใจของผู้เรียน  ควรมีลักษณะเร้าความสนใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา  เพราะจะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนอยู่เสมอ

 

           6. บทเรียนที่ดีควรสร้างความรู้สึกในทางบวกของผู้เรียนควรทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเพลิดเพลิน  เกิดกำลังใจและควรที่จะหลีกเลี่ยงการลงโทษ

 

             7. ควรจัดทำบทเรียนให้สามารถแสดงผลย้อนกลับไปยังผู้เรียนให้มากๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงย้อนกลับในทางบวก  ซึ่งจะสามารถทำให้ผู้เรียนชอบและไม่เบื่อหน่าย

 

            8. บทเรียนที่ดีควรเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอน  บทเรียนควรปรับเปลี่ยนให้ง่ายต่อกลุ่มผู้เรียน เหมาะกับการจัดตารางเวลาเรียน สถานที่ตั้งคอมพิวเตอร์มีความเหมาะสมควรคำนึงถึงการใส่เสียง ระดับเสียงหรือดนตรีประกอบควรให้เป็นที่ดึงดูดใจผู้เรียนด้วย

 

            9.  บทเรียนที่ดีควรมีวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนอย่างเหมาะสม  ควรหลีกเลี่ยงคำถามที่ง่ายตรงเกินไป  หรือไร้ความหมาย  การเฉลยคำตอบควรให้แจ่มแจ้งไม่คลุมเครือและไม่ควรเกิดความสับสน

 

            10.  บทเรียนควรใช้กับคอมพิวเตอร์ที่จะเป็นแหล่งทรัพยากรทางการเรียน  อย่างชาญฉลาด   ไม่ควรเสนอบทเรียนในรูปอักษรอย่างเดียว  หรือเรื่องราวที่พิมพ์เป็นอักษรโดยตลอดควรใช้สมรรถนะของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเต็มที่  เช่น  การเสนอด้วยภาพ  ภาพเคลื่อนไหว  ผสมตัวอักษรหรือให้มีเสียงหรือแสงเน้นที่สำคัญ  หรือวลีต่างๆ  เพื่อขยายความคิดของผู้เรียนให้กว้างไกลมากขึ้น  ผู้ที่สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนควรตระหนักในสมรรถนะของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ตลอด  ข้อจำกัดต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ด้วย เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความสูญเสียบางสิ่งบางอย่างของสมรรถนะของคอมพิวเตอร์ไป  เช่น  ภาพเคลื่อนไหวปรากฏช้าเกินไป  การแบ่งส่วนย่อยๆ  ของโปรแกรมมีขนาดใหญ่เกินไปทำให้ไม่สะดวกต่อการใช้

 

           11. บทเรียนที่ดีต้องอยู่บนพื้นฐานของการออกแบบการสอนคล้ายๆ กับการผลิตสื่อชนิดอื่นๆ การออกแบบทเรียนที่ดี    จะสามารถเร้าความสนใจของผู้เรียนได้มาก   การออกแบบ  บทเรียนย่อมประกอบด้วยการ  ตั้งวัตถุประสงค์ของบทเรียน การจัดลำดับขั้นต้อนของการสอนการสำรวจทักษะที่จำเป็นต่อผู้เรียนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้  จึงควรจัดลำดับขั้นตอนการสอนให้ดี   มีการวัดผลและการประเมินผลย้อนกลับให้ผู้เรียนได้ทราบ   มีแบบฝึกหัดพอเพียงและให้มีการประเมินผลของขั้นสุดท้าย  เป็นต้น

 

           12. บทเรียนที่ดีควรมีการประเมินผลทุกแง่ทุกมุม  เช่น  การประเมินคุณภาพของผู้เรียนประสิทธิภาพของผู้เรียน  ความสวยงาม  ความตรงประเด็นและความตรงทัศนคติของผู้เรียน  เป็นต้น

 

2.1 การใช้โปรแกรม Author ware

          Author ware  เป็นโปรแกรมประยุกต์  ที่นิยมนำมาสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมากที่สุด  เพราะเนื่องจากว่า  เข้าใจง่าย  มีการเขียนโปรแกรมที่ใช้ง่าย

 

clip_image028

ภาพแสดง โปรแกรม Author Ware

 

ทำความรู้จักกับส่วนต่างๆ ของโปรแกรม Authorware 4

 

           โปรแกรม  Authorware  มีส่วนประกอบหลัก ๆ  อยู่  5  ส่วนด้วยกัน  คือ

 

           1. แถบชื่อ (Title Bar) จะอยู่บนสุดถ้าเป็นของโปรแกรมจะมีชื่อว่า  Authorware  แต่ถ้าเป็นโปรแกรมที่ท่านตั้งชื่อแล้ว  จะปรากฏในแถบ  Title Bar  นี้ด้วย

 

           2. แถบเมนู  (Menu Bar)  อยู่รองลงมา จะมีเมนูอยู่บนแถบนี้ 10 เมนูแต่ละตัวจะมีเมนูย่อยเป็นแบบ  Pull Down Menu

 

             3. แถบไอคอน  (Icon Bar) จะเป็นรูปไอคอนต่าง ๆ โดยเอาคำสั่งจากเมนูย่อยของแถบเมนูคำสั่งที่ใช้บ่อย ๆ  มาทำเป็นไอคอนเพื่อความสะดวกในการเรียกใช้งาน

 

             4.  ไอคอนพาเลตต์  (Icon  Palette)  เป็นแถบไอคอนเครื่องมือ  (Tools)  เรียงตามแนวตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของจอ

 

              5. หน้าต่างออกแบบ  (Design Window)  เป็นหน้าจอว่าง ๆ  มีเส้น  FLOW LINE 1 เส้นเพื่อเตรียมให้ท่านออกแบบงานใช้เมาส์ลากขอบหน้าต่างนี้เข้าออกเป็นการย่อและขยายหน้าต่าง บนแถบหัวของหน้าต่างออกแบบ  จะมีชื่อเป็น Untitle-1  ให้ก่อน  จนกว่าจะบันทึก  (Save)  งาน แล้วตั้งชื่อใหม่บนแถบหัวนี้จะเป็นชื่อที่ตั้งไว้

 

 

clip_image030

ภาพส่วนต่างๆของโปรแกรม AuthorWare

 

2.2  การใช้  ระบบจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์  Moodle

 

       Moodle  ย่อมาจาก  Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment

             คือ  ระบบจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ให้มีบรรยากาศเหมือน เรียนในห้องเรียน  หรือเรียกว่า LMS  (Learning Management System) หรือ   ระบบจัดคอร์ส  การเรียนการสอน  CMS (Course Management System ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต สำหรับสถาบันการศึกษา หรือผู้สอน ใช้เพื่อเตรียมแหล่งข้อมูล กิจกรรม และเผยแพร่แบบออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต Moodle สามารถนำไปใช้ได้ ทั้งองค์กรระดับ มหาวิทยาลัย โรงเรียน สถาบัน หรือผู้สอนสอนพิเศษ โปรแกรมชุดนี้เป็น Open Source ภายใต้ข้อตกลงของ gnu.org (General Public License) สามารถ download ได้ฟรีจาก http://moodle.org  ผู้พัฒนาโปรแกรมคือ  Martin  Dougiamas สถาบันการศึกษาใดต้องการนำไปใช้  จัดระบบการเรียนการสอน จะต้องอาศัยผู้ดูแลระบบ  ( Admin)  ที่ความสามารถในการติดตั้ง  โดยที่ต้องมี  Web Server  ที่บริการภาษา  php  และ  mysql

 

clip_image032

  ภาพแสดงการติดตั้งโปรแกรม Moodle

 

ความสามารถของ moodle

           1.  เป็นโปรแกรมจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ประเภทฟรีแวร์  ที่ได้รับการยอมรับกันทั่วโลก

 

           2. สามารถเป็นได้ทั้ง CMS (Course Management System) และ LMS (Learning Management System)  ช่วยรวบรวมวิชาเป็นหมวดหมู่  เผยแพร่เนื้อหา  ของผู้สอน พ ร้อมบริการให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษา  และบันทึกกิจกรรมของผู้เรียน

 

         3. สามารถสร้างแหล่งข้อมูลใหม่  หรือเผยแพร่เอกสารที่ทำไว้  เช่น  Microsoft Office,  Web Page,  PDF  หรือ  Image  เป็นต้น

 

          4.  มีระบบติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียน  เพื่อนร่วมชั้น  และผู้สอน เช่น chat หรือ   webboard เป็นต้น  ผู้เรียนฝากคำถาม  ผู้สอนทิ้งคำถามไว้  ผู้สอนนัดสนทนาแบบออนไลน์  ผู้สอนนัดสอนเสริม  หรือแจกเอกสารให้อ่านก่อน  เข้าเรียน  ก็ได้

 

           5. มีระบบแบบทดสอบ  รับการบ้าน  และกิจกรรม  ที่รองรับระบบ  ให้คะแนนที่หลากหลาย  ให้ส่งงาน  ให้ทำแบบฝึกหัด  ตรวจให้คะแนนแล้ว  export  ไป  excel

 

           6. สำรองข้อมูลเป็น . zip แฟ้มเดียว ในอนาคตสามารถนำไปกู้คืน  ลงไปในเครื่องใดก็ได้ ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกใช้ Moodle

 

 

องค์ประกอบของ  moodle  ที่มหาวิทยาลัยควรมี 

          1.  มี  Web Browser เช่น Internet  explorer ในการติดต่อกับ  moodle  ทั้งโดยผู้สอนและผู้เรียน

 

           2.  มี Web Server ที่ให้บริการ  php  และ  mysql

 

           3.  มีผู้ติดตั้ง  ผู้ดูแล และบำรุงรักษา  ควรทำโดยนักคอมพิวเตอร์  ที่มีประสบการณ์ เกี่ยวกับการติดตั้ง  การบำรุงรักษา  และการเขียนเว็บ

 

           4.  มีผู้สอน  ผู้เรียน  และผู้บริหาร ที่ยอมรับในเทคโนโลยี  ดังนั้น  Moodle ไม่เหมาะกับเด็กอนุบาล  หรือผู้สอนที่ไม่มีไฟ

 

           5.  มีการเชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่าย เช่น อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต ( LAN)

 

ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ Moodle

           1.  ผู้ดูแลระบบ (Admin) : ติดตั้งระบบ  บำรุงรักษา  กำหนดค่าเริ่มต้น  และกำหนด  สิทธิ์การเป็นผู้สอน

 

           2.  ผู้สอน  (Teacher) :   เพิ่มแหล่งข้อมูล   เพิ่มกิจกรรม   ให้คะแนน   ตรวจสอบกิจกรรม  ผู้เรียน  ตอบคำถาม  และติดต่อสื่อสาร

 

            3.  ผู้เรียน (Student) : เข้าศึกษาแหล่งข้อมูล และทำกิจกรรม ตามแผนการสอน

 

           4.  ผู้เยี่ยมชม (Guest) : เข้าเรียนได้เฉพาะวิชาที่อนุญาต และจำกัดสิทธ์ ในการทำกิจกรรม

 

3.3 รูปแบบ Social Network

 

             Social network หมายถึง สังคมออนไลน์ที่จะช่วยหาเพื่อนบนโลกอินเทอร์เน็ตได้ง่ายๆ สามารถที่จะสร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมา และได้ทำความรู้จักกับเพื่อนหรือคนอื่นๆ และยังสามารถแนะนำตัวเองได้เช่น Hi5, Friendster, MySpace, FaceBook, Orkut, Bebo, Blog, Tagged  เป็นต้น

 

             Social Network  นั่นถือว่า  แหล่งแลกเปลี่ยนข้อมูลและความสัมพันธ์   บนโลกอินเตอร์เน็ท เป็นการที่ผู้คนสามารถทำความรู้จัก  และเชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง  หากเป็นเว็บไซต์ที่เรียกว่าเป็น  เว็บ  Social Network  ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่นเอง นั่นคือโลกที่สาม  ยุคที่อะไรก็ไม่อาจจะหยุดยั้งไว้ได้

 

clip_image034

ภาพแสดง  แหล่ง Social Network ต่างๆ

 

            เว็บไซต์ Social Network  เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเว็บที่สร้างขึ้นมาเพื่อการตอบสนองความต้องการในการติดต่อธุรกิจหรือหาเพื่อนบนโลกไซเบอร์ทั้งสิ้น  ดังที่พบได้ในปัจจุบัน ซึ่งมีความนิยมเป็นอย่างมากในโลกของอินเทอร์เน็ต

 

การใช้ Social Network เพื่อการเรียนการสอน

 

     3.1 การใช้เว็บบล็อก (Weblog) เพื่อการเรียนการสอน

 

          Blog มาจากคำว่า  World  Wide  Web ซึ่งหมายถึง  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกันไปทั่วโลกกับคำว่า log  แปลว่า  บันทึก  รวมกันเป็น  Weblog  (เว็บบล็อก)  นิยมเรียกสั้นๆ ว่า  Blog  ซึ่งเป็นเว็บไซต์พันธุ์ใหม่รูปแบบใหม่  ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลก สามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้กับงานแทบทุกวงการ  การสร้างสรรค์เว็บบล็อกทำได้อย่างรวดเร็ว  ไม่ต้องเรียนรู้การสร้างเว็บให้ยุ่งยาก ไ ม่ต้องเขียนโค้ชหรือคำสั่งใดๆ  ก็สามารถสร้างบล็อกได้อย่างน่าสนใจ การที่บล็อกได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว  ในโลกปัจจุบันในวงการเทคโนโลยีการสื่อสารจึงเปรียบเว็บบล็อกเสมือนรถแข่งที่มีเครื่องยนต์พลังแรงสูงวิ่งฉวัดเฉวียนอยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  (internet)  ซอกซอนไปทุกเส้นทางสาขาอาชีพ

 

          ปัจจุบันมีหลายบริษัททั้งไทยและต่างประเทศได้สร้างรูปแบบเว็บบล็อกขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการให้ดูแปลกใหม่ ใช้งานง่าย และเหมาะสมกับผู้ใช้งานแต่ละกลุ่ม เช่น www. exteen.com, www.space.com, www.blogger.com, www.sanook.com, www.hi5.com, www.multiply.com ฯลฯ ประการหนึ่งที่หน่วยงานหรือองค์กรทางธุรกิจเว็บบล็อกอำนวยความสะดวกให้ผู้สร้างไม่จำเป็นต้องขอพื้นที่สำหรับเป็นที่อยู่ของเว็บบล็อก หรือที่เรียกว่า แอดเดรส (address : ที่อยู่) หรืออาจเรียกว่า URL : Uniform Resource Locator ซึ่งหมายถึงที่อยู่ของเว็บบล็อก  บนเครือข่ายอินเตอร์เช่นกัน

 

           การสร้างสรรค์เว็บบล็อกให้สวยงาม เนื่องจากเว็บบล็อกได้รับความนิยมสูงทั่วโลกจึงมีหลายบริษัทที่คิดค้นสร้างสรรค์องค์ประกอบต่างๆ ที่ใช้ในการตกแต่งเว็บบล็อกให้สวยงาม โดยการเขียนโค้ชหรือสคริปต์ต่างๆ เช่น  คน  การ์ตูน  สัตว์  พืช  ดอกไม้  สิ่งของต่างๆ  ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวไว้สำหรับบริการกลุ่มเป้าหมายให้สามารถนำไปใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีความรู้ในการเขียนโปรแกรมแต่อย่างใด  ช่วยให้การสร้างสรรค์เว็บบล็อกสะดวกและง่ายขึ้นเพียงแต่เว็บบล็อกล้วนแต่สร้างผลงานให้มีลักษณะสวยงาม  แปลกตา  น่าสนใจ  แม้ผู้สร้างไม่มีความถนัดในการออกแบบเชิงศิลปะ  ก็สามารถสร้างเว็บบล็อกให้สวยงามได้ ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตโค้ชหรือสคริปต์ต่างๆ ที่ได้รับความนิยมสูง ได้แก่ www.slide.com, www.amazingcoumter. com, www.rockyou.com, www.cootext.com, www.vamos.com, www.cute-spot.com, ฯลฯ

 

วัตถุประสงค์การใช้เว็บบล็อก (Weblog) เพื่อการเรียนการสอน การใช้เว็บบล็อกเพื่อการเรียนการสอนมีวัตถุประสงค์   ดังนี้

 

            1.  เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน

           2.  เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมเนื้อหา

           3.  เพื่อเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลอื่น

           4.  เพื่อการติดตามการปฏิบัติงานของผู้เรียน

          5.  เพื่อเป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงานของผู้เรียน

          6.  เพื่อเป็นสื่อเชื่อมโยงในการศึกษาค้นคว้ากับเว็บไซต์อื่นๆ

          7.  เพื่อความสนุกเพลิดเพลินของผู้เรียน

          8.  เพื่อฝึกทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการแสวงหาแหล่งเรียนรู้ต่างๆ

 

ประโยชน์ของ Weblog

           จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ  ผ่านทางระบบ  comment  ของบล็อกนั่นเอง

 

           1. เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น  ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้ผู้คน สาธารณะได้รับรู้

 

           2. เป็นเครื่องมือช่วยในด้านธุรกิจ  เช่น  การโฆษณา  ประชาสัมพันธ์  การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กร     การเสนอตัวอย่างสินค้า  การขายสินค้า และ   การทำการตลาด  ออนไลน์  เป็นต้น

 

           3. เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ  ที่ถูกต้องและชัดเจน  จากผู้มีความรู้เฉพาะด้านนั้นๆ  เนื่องจากผู้เขียน Blog มักจะเขียนถึงเรื่องที่ตัวเองถนัด  ชอบ  และมีความรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ  การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านใน Blog  ต่างๆ  จึงทำให้เราค้นพบความรู้ และผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น

 

            4.  ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน  เพราะข่าวสารความรู้  มาจากผู้คนมากมาย  (ทั่วโลก)  และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ

 

          5. ไม่ต้องใช้ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ชั้นสูงก็สามารถทำได้

 

           6. ไม่ต้องขอพื้นที่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเหมือนเว็บไซต์ทั่วไป

 

           7. สามารถบรรจุภาพนิ่ง  เสียง  และภาพเคลื่อนไหวเหมือนเว็บไซต์ทั่วไปได้

 

           8. สามารถใช้งานหรือปรับแต่งให้สวยงามได้ด้วยตนเอง  นำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้ดี

 

            9. สำหรับ  Weblog  ของ  Blogge r สามารถบรรจุบทความได้มากถึง  999  บทความ

 

            10. สามารถสร้างสรรค์องค์ประกอบต่างๆ  ที่เป็นประโยชน์กับการทำงานได้หลายอย่าง เช่น  ตัวเลขนับผู้ชม  (counter)  กระดานข่าว  (web board)  สไลด์  (slides)  คลิปวีดิทัศน์ (video clip)  เป็นต้น

 

             11. สามารถเชื่อมโยงกับเว็บไซต์อื่น ๆ ได้ตามต้องการ

 

            ด้วยคุณสมบัติที่ดีดังกล่าว  ทำให้  weblog  ได้รับความนิยมไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว  โดยเฉพาะในวงการศึกษามีการนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนแบบผสมผสานได้เป็นอย่างดี weblog จะทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน  หรือผู้เรียนกับผู้เรียนได้ตลอดเวลา  ทุกสถานที่ที่มีอินเตอร์เน็ตใช้ ผู้เรียนสามารถค้นคว้าความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียนได้จากเว็บไซต์อื่นได้มากมายมหาศาล ทำให้ผู้เรียนเข้าถึงสาระของเนื้อหาที่สอนได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น   ดังนั้น  weblog จึงเป็นสื่อการสอนอีกชนิดหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้สอนอาจารย์จัดการเรียนการสอนได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น

 

ขั้นตอนการสร้างเว็บบล็อก

            ในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทุกๆการอบรม มีการใช้เว็บบล็อกของบล็อกเกอร์ (Blogger)  ซึ่งเป็นบริษัท  Google ประเทศสหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นเว็บบล็อกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด การสร้างเว็บบล็อกท่านต้องมี e-mail เป็นของตนเองเสียก่อน จากนั้นจึงใช้ e-mail สมัครเข้าไปสร้างเว็บบล็อกได้ e-mail ที่ควรใช้กับบล็อกเกอร์ควรเป็น Gmail ของ Google เช่นเดียวกัน

 

            Gmail   เป็นช่องทางการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ช่องทางหนึ่ง  บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต   การสมัครใช้บัญชีของ  Gmail  มีประโยชน์ในการใช้บริการต่างๆ  มากมาย  โดยเฉพาะการใช้อ้างอิงในการสร้าง  weblog การรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ทั้งที่เป็น  รูปภาพและตัวอักษร  ข้อความ, การเชื่อมโยงกับเครือข่ายต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต เป็นต้น หลังจากนั้น เข้าไปสู่ www.Blogger.com เพื่อลงทะเบียนในการใช้บล็อก  เพื่อเตรียมพร้อมการใช้งาน  โดยเว็บบล็อกมีส่วนประกอบ  ดังต่อไปนี้

 

ส่วนประกอบของบล็อก

 

   เว็บบล็อกของ Blogger มีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนได้แก่

             1. ส่วนหัวบล็อก

            2. ส่วนบทความ

            3. ส่วนปรับแต่ง

 

 

clip_image036

ภาพแสดงตัวอย่างWeblog : http://techno711.blogspot.com

 

3.2 การนำเสนอแบบ Web page

           เป็นรูปแบบที่การนำเสนอแบบเดียวกับที่ใช้บนอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันนิยมใช้ในรูปแบบนี้มากขึ้นในการนำเสนอต่อที่ประชุม เว็บเบราเซอร์ (Web browser) เป็นโปรแกรมที่ใช้แสดงผล ส่วนโปรแกรมที่ใช้สร้างเวบเพจหรือแต่ละหน้านั้นมีวิธีทำได้หลายวิธีตั้งแต่วิธีดั้งเดิมที่สุดคือการเขียนด้วยภาษา HTML (Hypertext Markup Language) หรือใช้โปรแกรมประเภท Software tool เช่น FrontPage, Dreamweaver เป็นต้น ข้อดีของการนำเสนอแบบนี้คือสามารถสร้างความเชื่อมโยงที่สลับซับซ้อนระหว่างส่วนต่างๆของเอกสารที่นำเสนอ ตลอดจนสามารถสร้างการเชื่องโยงเอกสารต่างรูปแบบกัน เช่น สามารถคลิกคำว่า  วิธีคำนวณ  เพื่อเปิดตารางคำนวณ (Excel) ที่แสดงรายการคำนวณและเมื่อคลิกคำว่า คำอธิบาย จะไปเปิดเอกสาร Word  เป็นต้น นอกจากนี้ หากคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการนำเสนอนั้นกำลังเชื่อมเข้าเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ก็สามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ต่างๆบนอินเทอร์เน็ตได้ด้วย การนำเสนอแบบ web Page นี้ใช้เวลาในการจัดทำมากกว่า แต่ด้วยความสามารถมากกว่าและสามารถนำขึ้นเว็บไซต์ได้ทันที จึงทำให้การนำเสนอแบบนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ

 

clip_image038

  ภาพแสดงการนำเสนอในรูปแบบเว็บเพจ

 

ข้อแนะนำในการสร้างเว็บเพจ

            ในการออกแบบสร้างเว็บเพจ มีองค์ประกอบอยู่หลายประการที่จะทำให้การสร้างเว็บเพจให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งมีข้อเสนอแนะ  ดังนี้

 

           1. เลือกกลุ่มเป้าหมาย  กลุ่มเป้าหมายเป็นคนในองค์กร  หรือคนทั่วไป  เป็นเด็ก  วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่  เป็นกลุ่มคนที่ความรู้ระดับใด ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาของเว็บเพจ

 

           2. การเลือกเนื้อหาเว็บเพจและปริมาณของข้อมูล การเลือกเนื้อหาเป็นส่วนสำคัญในการเริ่มต้นสร้างเว็บเพจ ผู้เยี่ยมชมแต่ละกลุ่มจะค้นหาข้อมูลที่แตกต่างกัน เว็บเพจแต่ละหน้าจะสนองตอบต่อผู้ชมไม่หมือนกัน ดังนั้นการเลือกเนื้อหาที่ดี เนื้อหาที่น่าสนใจและใหม่เสมอทำให้ผู้เยี่ยมชมจะกลับมาเยี่ยมชมอีกครั้ง การใส่ข้อมูลที่ปริมาณมากเกินความจำเป็นจะทำให้ผู้ชมรู้สึกอึดอัดและไม่ดึงดูดความสนใจ

 

            3. การจัดเก็บแฟ้มข้อมูล โครงสร้างของเว็บมีความสำคัญในการจัดการดูแล การรักษาเว็บให้เป็นระเบียบการตรวจสอบความผิดพลาดของเว็บเพจจะทำได้ง่ายขึ้น เช่น การจัดแฟ้มรูปภาพและเว็บเพจที่เป็นเรื่องเดียวกันไว้ในไดเรกทอรีเดียวกัน

 

            4. เว็บเพจต้องสามารถใช้ได้กับบราวเซอร์หลายชนิดการสร้างเว็บเพจควรจะทำเพื่อให้สามารถนำไปแสดงผลได้กับบราวเซอร์แต่ละชนิด และเทคนิคต่างๆ ที่ใช้ก็ควรจะถูกรองรับโดยบราวเซอร์เช่น เฟรม จาวา จาวาสคริปต์และพลักอินส์ เป็นต้น รวมทั้งการเลือกใช้แบบตัวอักษรภาษาไทย เนื่องจาก บางบราวเซอร์ไม่สามารถแสดงผลภาษาไทยที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นจึงควรตรวจสอบการแสดงผลผ่านบราวเซอร์ก่อน

 

              5. ความเร็วในการโหลดเว็บเพจ ความเร็วในการโหลดเว็บเพจเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้เว็บเพจนั้นประสบความสำเร็จหรือไม่ ถ้าการโหลดเว็บเพจใช้เวลานานเกินไป หลายครั้งจะทำให้ผู้ชมหมดความอดทนแล้วเปลี่ยนไปหาข้อมูลที่อื่น ปัจจัยที่กระทบต่อความเร็ว ได้แก่  ขนาดของรูปภาพที่ใช้ จำนวนของรูปภาพที่ใช้ เทคนิคใหม่ๆ  เช่น  จาวา เอเอสพี  พีเอ็ชพี  และแฟลช เป็นต้น รวมถึงปริมาณของตัวอักษรที่อยู่บนหน้านั้นๆ ซึ่งมีผลให้การโหลดข้อมูลช้าหรือเร็ว ปริมาณข้อมูลในแต่ละเว็บเพจไม่ควรจะมากจนเกินไป ดังนั้นถ้ามีเนื้อหามากๆ ควรจะตัดแบ่งออกเป็นตอนๆ  เพื่อช่วยเพิ่มความเร็วในการโหลด  และยังเป็นการให้ผู้เข้าเยี่ยมชม  อ่านง่ายยิ่งขึ้นด้วย

 

            6. ความง่ายในการค้นหาข้อมูลการวางตำแหน่งของข้อมูลหรือแถบนำทางทำให้ข้อมูลที่สำคัญๆ หาได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้เว็บเพจนั้นน่าใช้ การย้อนกลับไปหน้าก่อนและหลังแม้กระทั่งการย้อนกลับไปจุดเริ่มต้นของเพจ ก็เป็นสิ่งที่เว็บเพจทุกหน้าควรจะมีเพื่อทำให้การท่องเว็บสะดวกและคล่องตัว ในบางครั้งถ้าสามารถให้บริการช่วยค้นหา (search) ก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้การค้นหาข้อมูลทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

 

            7. การเลือกใช้ตัวอักษร  ฉากหลัง และการเลือกโทนสีต้องให้เข้ากับเนื้อหาสาระของเว็บเพจนั้นถ้าเว็บนั้นกล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับทะเลก็ควรใช้โทนสีฟ้า หรือฟ้าคราม สีขาว ไม่ควรใช้สีที่ฉูดฉาดและร้อนแรงแบบสีแดงเป็นสีพื้น ลักษณะของแบบตัวอักษร  ขนาดของตัวอักษรก็เช่นเดียวกันถ้าตัวอักษรใหญ่หรือเล็กเกินไป   จะทำให้องค์ประกอบรวมของเว็บนั้นเสียไป ถ้าต้องการกำหนดประเภทของตัวอักษร  ควรใช้ที่เป็นสากลนิยม เช่น กรณีภาษาอังกฤษ  อาจใช้ Arial หรือ Times ส่วนภาษาไทยอาจใช้ Angsana หรือ MS Sans Serif น่าจะถือเป็นสากลนิยมของภาษาไทย การเลือกใช้ตัวอักษรภาษาไทยนั้นต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะในกรณีที่เครื่องผู้เข้าเยี่ยมชมไม่มีตัวอักษรนั้นๆ อาจทำให้ผู้เข้าเยี่ยมชมไม่สามารถอ่านตัวอักษรได้เลย

 

             8. ขนาดและชนิดของรูปภาพ ภาพกราฟิกนั้นมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละแบบจะมีข้อดีข้อเสียต่างกัน อย่างไรก็ตามรูปภาพที่นิยมใช้กันในเว็บเพจมักมีส่วนขยายของไฟล์เป็น GIF และ JPEG เนื่องจากมีขนาดเล็ก ทำให้การโหลดเว็บทำได้เร็ว การพิจารณาเลือกใช้ภาพที่มีคุณภาพดี ถ้าเป็นภาพแต่งหรือภาพถ่ายที่มีสีมากๆ ควรใช้แฟ้มที่มีส่วนขยายเป็นJPEG แต่ถ้าเป็นแฟ้มภาพของปุ่มหรือป้ายที่มีสีจำนวนไม่มาก ก็ควรใช้แฟ้มที่มีส่วนขยายเป็นGIF

 

              9. ส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้สำหรับเว็บเพจ สิ่งที่จะละเลยไม่ได้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับผู้จัดทำ อีเมล์ วันเวลาที่ทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเว็บเพจ เพื่อที่ผู้ชมจะได้ติดต่อกับผู้จัดทำถ้ามีปัญหาใดๆ  และทราบถึงวันเวลาที่เว็บเพจนี้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข  และอาจมีหัวข้ออื่นๆ  อีก  เช่น      ข้อเสนอแนะ (Feedback)  คำถามที่ถูกถามบ่อย  (FAQ – Frequency Asked Questions)  เว็บไซต์อื่นๆ ที่น่าสนใจที่ผู้เข้าเยี่ยมชมจะหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ซึ่งหัวข้อเหล่านี้จะช่วยลดเวลาในการค้นหาข้อมูลของผู้เข้าเยี่ยมชมได้

 

                 10. ตรวจสอบเว็บเพจก่อนนำเสนอ เพื่อความถูกต้องและความสวยงามของเว็บเพจ ก่อนที่จะนำเสนอควรตรวจสอบกับ เว็บบราวเซอร์ทั้ง เนสเคปคอมมูนิเคเตอร์และอินเทอร์เน็ตเอ๊กพลอเรอร์ ก่อน การออกแบบเว็บเพจอาจจะเหมาะสมกับความละเอียดภาพหนึ่งๆ

 

ข้อควรระวังในการเขียนเว็บเพจ ซึ่งพอจะสรุปได้  ดังนี้

 

           1. ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้เฟรม เฟรมเป็นรูปแบบของเว็บเพจที่แบ่งหน้าจอออกเป็นหน้าต่างย่อยๆ ซึ่งอิสระต่อกันทำให้ใช้งานได้ง่าย แต่ในบางกรณีการใช้เฟรมสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้ได้ เช่น เมื่อเลือกหัวข้อย่อยข้อหนึ่งแล้วชื่อของ URL ในช่อง address ไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่า ทำให้ผู้ใช้ไม่ทราบจุดอ้างอิงของตัวเองว่าตอนนี้อยู่ในเว็บเพจใด และจะกลับไปที่จุดเริ่มต้นได้อย่างไร

 

           2. การใช้เทคนิคมากเกินไป ไม่ควรใช้เทคนิคมากเกินความจำเป็น เช่น แฟลช จาวา หรือการใส่เสียงเบื้องหลังตลอดเวลา แม้ว่าเทคนิคเหล่านี้จะทำให้เว็บเพจดูสวยงาม และตื่นตาตื่นใจ แต่อาจจะทำให้โหลดช้า และน่าเบื่อในที่สุด

 

          3. ป้ายที่แสดงว่าอยู่ระหว่างการดำเนินการ ไม่ควรนำสัญลักษณ์รูป (Icon) หรือป้ายที่แสดงว่าอยู่ระหว่างการดำเนินการขึ้นมาเพราะการใช้วิธีการแบบนี้มักจะเกิดจากความไม่มั่นใจของผู้ออกแบบว่าเว็บเพจที่สร้างพร้อมที่จะออกแสดงหรือยัง ซึ่งในกรณีที่ยังไม่พร้อมก็ไม่ต้องนำขึ้นแสดง

 

          4. การใช้ภาพกราฟิกขนาดใหญ่หรือปริมาณมากภาพกราฟิกที่มีขนาดใหญ่จะทำให้การโหลดช้า ผู้ออกแบบจะต้องละเว้นการใช้กราฟิกขนาดใหญ่หรือปริมาณมาก เพื่อที่จะเลี่ยงปัญหาคนออกจากเว็บไซต์เพราะรู้สึกเบื่อหน่าย การเลือกภาพกราฟิก ควรจะเลือกเฉพาะกราฟิกที่เพิ่มคุณค่าให้กับเนื้อเรื่อง

 

          5. การใช้ตัวอักษรหลายรูปแบบ

 

           6. การใช้ฉากหลังที่ซับซ้อนการใช้ฉากหลังที่ซับซ้อนทำให้การอ่านบทความไม่ชัด และในขณะเดียวกันผู้ออกแบบต้องระลึกไว้เสมอว่า ให้ใช้สีที่ตัดกันกับฉากหลังของบทความ หากบทความมีสีอ่อนให้ใช้ฉากหลังสีเข้ม ตรงกันข้ามกันถ้าบทความสีเข้มให้ใช้ฉากหลังสีอ่อน

 

          7. การใช้ภาพเคลื่อนไหวมากเกินไป การใช้ภาพเคลื่อนไหวทำให้เว็บเพจมีชีวิตชีวา แต่อย่างไรก็ตามการใส่ภาพที่เคลื่อนไหวมากเกินไป จะมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อทัศนวิสัย และดึงความสนใจของผู้ชมไปจากองค์ประกอบอื่นๆ ที่มีความสำคัญ

 

          8. การเชื่อมโยงกลับไปยังหน้าหลักเว็บเพจ  แต่ละหน้าควรจะบ่งบอกชัดเจนว่าเป็นของเว็บไซต์ใด    เพราะผู้ใช้บางรายอาจจะเข้าไปยังหน้ารองๆ     ของเว็บไซด์โดยบังเอิญ      โดยที่ไม่ผ่านโฮมเพจหลักและถ้าผู้ใช้ต้องการกลับไปที่หน้าแรกของโฮมเพจที่เข้ามาก็สามารถกลับไปดูได้โดยมีลิงก์ไปยังโฮมเพจหลักได้

 

            9. ไม่มีการจัดโครงสร้างเว็บเพจ เว็บเพจแต่ละหน้าควรจัดวางให้มีรูปแบบคล้ายกันเพื่อสะดวกต่อการค้นหาเมื่อมีการเปิดเว็บหน้าถัดไปเนื่องจากมีรูปแบบเดียวกัน ถ้าแต่ละหน้ามีการวางโครงสร้างไว้ต่างกันมากจะทำให้เสียเวลาในการค้นหาข้อมูล

 

           10. เนื้อหาที่ไม่แตกต่างไปจากเว็บไซต์อื่นๆผู้เริ่มหัดเขียนโฮมเพจส่วนใหญ่จะเริ่มจาก “นี่คือโฮมเพจของฉัน” และพยายามใส่ข้อมูล รวมทั้งสร้างแหล่งเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งมักจะไปซ้ำกับเว็บไซต์อื่นๆ ดังนั้นก่อนจะเริ่มเขียนควรมีโครงร่างของเว็บที่เราจะนำเสนอที่มีความแตกต่างจากเว็บไซต์อื่นๆ ซึ่งจะเป็นจุดดึงดูดความสนใจมากกว่า

 

           11. การแสดงความเห็นมากเกินไป ผู้เริ่มหัดเขียนเว็บเพจบางคนมีเนื้อหาที่จะเสนอมากจนเกินไป โดยใส่ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยากนำเสนอลงในเว็บเพจทั้งหมด จึงไม่มีอะไรเป็นจุดเด่น บางเว็บเพจใส่ข้อมูลส่วนตัวลงไปด้วย ถึงแม้ว่าดูน่าสนใจ แต่ก็ไม่ควรมาอยู่บนเว็บเพจ ยกเว้นต้องการนำเสนอตัวเองให้คนอื่นรู้จักการออกแบบที่ดีควรรวบรวมเรื่องต่างๆให้เข้าเป็นหมวดหมู่หรือสร้างหน้ารายการเลือกที่รวมแหล่งเชื่อมโยงซึ่งจะนำผู้อ่านไปสู่หน้าที่แยกกันตามหัวข้อจะดีกว่า

 

           12. การไม่แสดงแหล่งที่มาถึงแม้ว่าข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตจะเป็นข้อมูลที่เผยแพร่ให้กับทุกๆคน การนำข้อมูลของผู้อื่นมาลงในเว็บไซต์ของเรา ไม่ว่าจะเป็นการคัดลอกโดยตรงหรือทำการวิเคราะห์แล้ว ก็ควรให้เกียรติกับเจ้าของข้อมูลด้วยโดยการบอกถึงแหล่งที่มาของข้อมูล และชื่อเจ้าของข้อมูลนั้น

 

           13. การเชื่อมโยงข้อมูลและข้อมูลที่ไม่เป็นปัจจุบัน หลายครั้งที่ข้อมูลเป็นข้อมูลเก่า อันเนื่องจากผู้ออกแบบเว็บไม่มีเวลาในการเปลี่ยนข้อมูล จึงควรจะระบุวันที่ เวลา ที่มีการแก้ไขข้อมูลทุกครั้ง เพื่อที่จะรักษาความเป็นปัจจุบัน

 

           14. การประกาศความรู้สึกที่เป็นลบผู้ออกแบบเว็บมือใหม่บางคนใช้คำเริ่มต้นที่แสดงถึงความไม่มั่นใจในตัวเองหรืออาจใช้คำที่ทำให้รู้สึกว่าตัวเองด้อย เพื่อที่จะแก้ความขวยเขินที่ได้นำเว็บเพจนี้ขึ้นบนอินเทอร์เน็ตเพราะเพิ่งเริ่มหัดเขียนโฮมเพจ ตัวอย่างเช่น ในเว็บเพจภาษาอังกฤษหน้าหนึ่งเริ่มต้นด้วย “This is my stupid page.” เมื่อเริ่มต้นอย่างนี้แล้วก็คงไม่มีใครอยากดูเพราะจะรู้สึกว่าไม่ฉลาดที่ไปดู

 

          15. ปัญหาการเชื่อมโยงการใช้ข้อความ  ในการเชื่อมโยงควรสื่อความหมายให้เข้าใจได้ชัดเจน การเชื่อมโยงของเนื้อความควรจะมีการเรียบเรียงเนื้อหาให้ต่อเนื่องกันไปถึงบทความที่เหลือ และบทความควรจะแยกเป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ได้ ผู้ออกแบบมักจะใช้ข้อความยาวๆทำแหล่งเชื่อมโยง หรือใช้คำ “คลิก (Click) ที่นี่” ในการเชื่อมโยง ซึ่งควรแทนด้วยการทำไฮไลต์ที่คำสำคัญ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกันภายในบทความได้

 

3.3 Word Press คืออะไร

 

           Word press คือโปรแกรมชนิดหนึ่ง  ที่มีระบบในการช่วยจัดการเนื้อหาบนเว็บ  ได้อย่างง่าย หรือที่หลายๆ คนใช้คำว่า Contents Management System (CMS) ซึ่งจริงๆ แล้ว โปรแกรมประเภท CMS มีมากมาย อย่างเช่น PHP Nuke, Joomla, Mambo, OScommerce, Magento เป็นต้น

 

                Wordpress เป็น CMS ประเภท Blog ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยภาษา PHP และทำงานบนฐานข้อมูล MySQL  ภายในสัญญาอนุญาตใช้งานแบบ  General Public License  (GNU)  มีเวปไซต์หลักอยู่ที่ http://www.wordpress.org และมี free hosting สำหรับขอรับบริการฟรีที่ http://www.wordpress.com

             Wordpress เป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่าย สำหรับคนที่ต้องการมีบล็อกส่วนตัว เป็นที่โปรแกรมที่นิยมกันทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย นอกจากการติดตั้งง่ายแล้ว Word press ยังมีข้อดีก็คือ สามารถหาดาวน์โหลดธีม (Themes) หรือหน้าตาของเว็บ รูปแบบต่างๆ ที่เหมาะกับความต้องการ รวมทั้งปลั๊กอิน (Plugins) เสริมอื่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น