วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เครื่องมือที่ใช้ในการนำเนอผลงาน

 

            ก่อนยุคคอมพิวเตอร์  การนำเสนอผลงานในที่ประชุมสัมมนา  มักจะใช้เครื่องมือสองอย่างคือ  เครื่องฉายสไลด์  (Slide projector)  และเครื่องฉายแผ่นใส  (Overheard projector)  การใช้งานเครื่องฉายสไลด์ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะต้องใช้กล้องถ่ายรูปใส่ฟิล์มพิเศษ  ที่ล้างออกมาแล้วเป็นภาพสำหรับฉายโดยเฉพาะ และต้องนำฟิล์มนั้นมาตัดใส่กรอบพิเศษ  จึงจะนำมาเข้าเครื่องฉายได้ ข้อดีของการฉายสไลด์ คือ ได้ภาพที่สวยงามและชัดเจนแต่  ข้อเสีย  คือ ต้องฉายในห้องที่มืดมาก เครื่องฉายแผ่นใสเป็นเครื่องที่ใช้งานทั่วไปได้มากกว่า แผ่นใสที่ใช้ตามปกติมีขนาดประมาณ 8 นิ้วคูณ 10 นิ้ว มีสองแบบ คือ  แบบใช้ปากกา(พิเศษ)เขียน  กับ แบบที่ใช้เครื่องถ่ายเอกสาร แผ่นใสแบบใช้กับเครื่องถ่ายเอกสารใช้เขียนได้แต่แบบเขียนใช้กับเครื่องถ่ายเอกสารไม่ได้เพราะแผ่นใสจะละลายติดเครื่องถ่ายเอกสารทำให้เครื่องเสียเวลาซื้อแผ่นใสจึงต้องใช้ความระมัดระวังดูให้ดีว่าเป็นชนิดที่ตรงกับความต้องการหรือไม่  การฉายแผ่นใสสามารถทำได้ในห้องที่ไม่ต้องมืดมาก  เมื่อมาถึงยุคคอมพิวเตอร์  เครื่องมือที่ใช้นำเสนอผลงานก็เปลี่ยนไป  เครื่องมือหลัก    คือ

clip_image004           

    clip_image002

clip_image006

 

             เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องฉายภาพจากคอมพิวเตอร์ (Data projector) เ ครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์รุ่นแรก ๆ  มีขนาดใหญ่ต้องติดตั้งประจำที่  ข้างในมีหลอดภาพ  3 หลอด  ทำให้เกิดภาพแต่ละสีฉายผ่านเลนส์ออกมาปรากฏภาพบนหน้าจอ ความคมชัดยังไม่ดีนัก  และความสว่างของภาพก็ไม่มากพอ  ทำให้ต้องฉายในห้องที่ค่อนข้างมืด  เครื่องฉายรุ่นใหม่  ได้แก้ไขจุดอ่อนเหล่านี้ได้หมดแล้ว  โดยใช้แผ่นผลึกเหลว  (Liquid Crystal Display  หรือ  LCD)  เป็นตัวสร้างภาพ  ทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลงมาจนสามารถพกพาได้  อีกทั้งความสว่างและความคมชัดก็ดีขึ้นมากจนสามารถฉายในห้องที่มีแสงสว่างปานกลางได้

          ส่วนที่จะขาดเสียมิได้ในการนำเสนอผลงาน  คือ คำบรรยายหรือบทพากย์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบด้านโสตหรือเสียงนั่นเอง ข้อพิจารณา ในเรื่องนี้มี  ดังต่อไปนี้

 

           1. การบรรยายสด เหมาะสำหรับประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วมเพราะผู้บรรยายในกรณีนี้  เป็นผู้ที่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างดี รู้ว่าควรจะเน้นตรงจุดใดและปฏิกิริยาจากผู้ชมสามารถติดตามทำความเข้าใจได้เพียงพอหรือไม่รู้ว่าส่วนไหนจะต้องอธิบายขยายความมากน้อยเพียงใด

 

           2.  การพากย์  เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้   โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม ข้อดี  คือ  สามารถเลือกใช้เสียงพากย์ที่มีความไพเราะน่าฟังน่าฟัง สามารถเลือกใช้ดนตรี  หรือ  เสียงประกอบ (Sound  effect)  เพื่อสร้างบรรยากาศ  แต่ข้อเสีย คือ ไม่มีความยืดหยุ่น  ไม่สามารถปรับให้เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ชมในขณะนั้น  (เช่น  ดนตรี แบ็กราวด์ช้า ๆ  เย็นๆ  อาจเหมาะกับท้องเรื่อง   แต่บังเอิญต้องนำเสนอช่วงหลังอาหารกลางวัน   ซึ่งอาจทำให้ผู้ชม  รู้สึกง่วงนอน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น